วันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ นายวชิรพันธ์ นาคก้อน รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ นายโกวิท คูพะเนียด ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในสถานศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในสถานศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ., นายนพ ชีวานันท์ เลขานุการ รมว.ศธ., นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการกอศ. และผู้บริหาร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อเตรียมการในการรองรับการดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินและกำหนดอำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบประชุมทางไกล (Video Conference)
เมื่อวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2566 สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องวินัย และการรักษาวินัยตลอดจนการให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการแก่บุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประพฤติตนเป็นผู้มีวินัย และไม่กระทำผิดวินัยสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งในส่วนกลางและสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 66 คน ณ โรงแรมเบสเวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สป. มอบหมายให้นายสรรค์ชัย ชูเมือง ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการปฏิบัติราชการและคดี พร้อมด้วยบุคลากรในสำนักนิติการ สป. เข้าร่วมงานวันต้านคอร์รัปชั่น กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้แนวคิด “กระทรวงศึกษาธิการไม่ทนต่อการทุจริต” เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับเกียรติจาก นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานและนำกล่าวคำประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต
11 December 2566
815
ครั้ง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สป. มอบหมายให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ
06 December 2566
772
ครั้ง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สป. พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัดเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 โดยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จำนวน 10 รูป พระสงฆ์และสามเณรรับบิณฑบาต จำนวน 89 รูป ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ
06 December 2566
691
ครั้ง
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินโครงการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดระยอง มีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมาย นายปรีดี ภูสีน้ำ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม โดยประธานได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า การติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาจะยังผลให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการตามนโยบายได้ทราบถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคจากการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาจากผู้ปฏิบัติ ผู้บังคับใช้ และผู้เกี่ยวข้องโดยตรง และที่สำคัญที่สุดคือ การตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะส่งผลให้การขับเคลื่อนนโยบาย เรียนดีมีความสุข ของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) สัมฤทธิ์ผลได้ในที่สุด ในการนี้ นายโกวิท คูพะเนียด ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา และคณะเจ้าหน้าที่จากกลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของกฎหมายที่นำมาติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา จำนวน ๕ ฉบับ ได้แก่ ๑. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๖๒ ๓. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๔. กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๕. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และได้มีการ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
30 November 2566
637
ครั้ง
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย นายโกวิท คูพะเนียด ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา นางสาวชนันธร หมื่นสา ตำแหน่งนิติกรชำนาญการ และว่าที่ร้อยตรี โอฬาร พญาสุวรรณ ตำแหน่งนิติกรชำนาญการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานกลั่นกรองความสอดคล้องของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ได้จัดการประชุมร่วมกันระหว่างคณะทำงานกลั่นกรองความสอดคล้องของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กับคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมาย ซึ่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาแต่งตั้งขึ้น โดยมี นายอำนาจ วิชยานุวัติ ในฐานะประธานคณะทำงานกลั่นกรองฯ เป็นประธานการประชุมฯ ณ ห้องประชุมจันทรเกษม อาคารราชวัลลภ ชั้น 1 กระทรวงศึกษาธิการ การประชุมฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษา เข้าร่วมการประชุมและได้มอบนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกฎหมายด้านการศึกษา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งที่ประชุมได้มติที่สำคัญ ดังนี้ 1. รับทราบคำสั่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษา ที่ 1/2566 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองความสอดคล้องของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา โดยคณะทำงานฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย คณะทำงานกลั่นกรองความสอดคล้องของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา และคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายแต่ละฉบับ อีกจำนวน 10 คณะ รวมทั้งสิ้น 11 คณะ 2. เห็นชอบร่วมกันในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายแต่ละฉบับ 6 ประเด็น กล่าวคือ 2.1 นำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. (เรื่องเสร็จที่ 660/2564) มาเป็นหลักในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย 2.2 นำหลักการและสาระสำคัญของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย (ถ้ามี) 2.3 นำนโยบาย รัฐบาลที่ได้มีการแถลงไว้ต่อรัฐสภา และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข” มาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย 2.4 นำนโยบาย หลักการ หรือสาระสำคัญอื่นใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมุ่งเน้นนักเรียน นักศึกษา เป็นสำคัญ มาประกอบการพิจารณา 2.5 การพิจารณาความสอดคล้องของร่างกฎหมายของคณะทำงานกลั่นกรองฯ จะยึดหลักการและสาระสำคัญตามข้อ 2.1-2.4 2.6 ประธานคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายแต่ละฉบับจะเป็นผู้ดำเนินการชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับร่างกฎหมายนั้น ๆ เป็นหลัก 3. มอบคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายแต่ละฉบับ ดำเนินการจัดทำข้อมูลแผนการดำเนินงานจัดทำร่างกฎหมาย (Timeline) พร้อมด้วยบทสรุป (Executive Summary) และจัดส่งให้คณะทำงานกลั่นกรองฯ (ลงนามโดยหัวหน้าส่วนราชการ) “ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2566” 4. มอบฝ่ายเลขานุการคณะทำงานกลั่นกรองฯ รวบรวมข้อมูลแผนการดำเนินงานฯ ที่คณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายแต่ละฉบับจัดส่งมา รายงานต่อคณะทำงานกลั่นกรองฯ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาให้ทราบต่อไป 5. เสนอรายงานผลการประชุมร่วมกันฯ ในครั้งนี้ ต่อประธานคณะทำงานกลั่นกรองฯ และรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทราบต่อไป
28 November 2566
746
ครั้ง
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการจัดโครงการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร โครงการฯ ดังกล่าวนี้ ได้รับเกียรติจาก นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ผ่านรูปแบบการบันทึกวิดิทัศน์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มอบนโยบายว่า กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งกฎหมายนั้นเมื่อใช้บังคับไประยะหนึ่งแล้ว สมควรต้องมีการติดตามประมวลผลการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของนักเรียน ก็จำเป็นต้องมีการติดตามประเมินผลการบังคับใช้เช่นเดียวกัน โดยขอให้คณะผู้จัด ให้โอกาสผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน ได้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เข้าร่วมการประชุมอย่างเต็มที่ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนส่วนราชการจากส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ในการนี้ นายโกวิท คูพะเนียด ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา และคณะเจ้าหน้าที่จากกลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการบรรยายสรุปเกี่ยวกับหลักการ และประเด็นสาระสำคัญของกฎหมายที่นำมาดำเนินการติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา จำนวน 5 ฉบับ กล่าวคือ 1) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. 2562 3) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2562 4) กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 5) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และได้มีการให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษา และนักเรียน ต่อไป
12 September 2566
776
ครั้ง
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 โรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายโกวิท คูพะเนียด ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา และนายนิติพงศ์ แก้วแก่น นิติกรชำนาญการ สำนักนิติการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้แทน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. … ระหว่างวันที่ 24 – 26 กรกฎาคม 2566 ณโรงแรมหรรษา JB หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายชนธัญ แสงพุ่ม เป็นประธานการประชุม และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กรมบัญชีกลาง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือเยียวยาในจังหว้ดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาร่างระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ….
วันที่ 13 มิถุนายน 2566 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัว และสถานประกอบการตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ณ โรงแรมชูชัยบุรี ศรีอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายสวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ เรื่อง สิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก่ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา บุคลากรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน นักเรียน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ได้กล่าวถึงกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษั้นพื้นฐานซึ่งออกตามความ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จำนวน 6 ฉบับ ได้มีการประกาศใช้มาเป็นเวลานานเนื่องจากปัจจุบันสภาพบริบทสังคมไทยได้เปลี่ยนไป รูปแบบการจัดการเรียนการสอนได้เปลี่ยนไป ในการประชุมวันนี้จึงขอรับฟังสภาพปัญหาในพื้นที่เพื่อหาข้อเสนอแนะร่วมกันในการปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ให้มีความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้เรียน ศูนย์การเรียนต่าง ๆ และเพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของสังคมและความต้องการของสังคมไทย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ นายวีระ พลอยครบุรี นายสวัสดิ์ ภู่ทอง และนายโกวิท คูพะเนียด นายสมพงษ์ ผุยสาธรรม ร่วมกันอภิปรายและรับฟังความคิดเห็น เรื่อง สภาพปัญหาในการจัดการศึกขั้นพื้นฐาน โดยครอบครัว และสถานประกอบการตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย คู่มือ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ได้ให้ข้อสังเกตเพื่อเป็นประเด็นในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือคู่มือ ดังนี้ 1) มาตรฐานการศึกษาสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมควรเป็นระดับใด 2) หลักสูตรการเรียนการสอนปัจจุบันมี 8 กลุ่มสาระฯ ควรเพิ่มเติมในประเด็นใดบ้าง และให้ข้อเสนอแนะว่า การจัดการเรียนการสอนควรเป็นในรูปแบบไฮบริด โดยนักเรียนไม่จำเป็นต้องไปโรงเรียนทุกวัน เช่น จากเคยไปเรียนวันจันทร์-ศุกร์ ควรกำหนดให้มี 1 วัน สามารถเรียนอยู่บ้านได้ ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาจะทราบได้อย่างไรว่าศูนย์การเรียนแต่ละแห่งสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาใด 2) กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการฯ ข้อ 11 การเทียบโอนผลการเรียนเป็นอำนาจของเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานใด 3) กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการฯ ข้อ 12 กำหนดให้ศูนย์การเรียนมีสิทธิรับเงินอุดหนุนจากรัฐแต่ปัจจุบันศูนย์การเรียนไม่ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าว 4) ศูนย์การเรียนซึ่งจัดการศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการฯ โดยจัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาควรได้รับการสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม การสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการเรียนการสอน และกรณีมีผู้บริจาคเงินให้ศูนย์การเรียนผู้บริจาคควรได้รับสิทธิลดหย่อนในการชำระภาษีประจำปี โดยวิทยากร/เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดประชุม ได้ชี้แจงดังนี้ 1) การเทียบโอนผลการเรียน ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการจัดทำกฎกระทรวงเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน 2) การจ่ายเงินอุดหนุนตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของสถานประกอบการฯ ข้อ 12 ขณะนี้ สพฐ.กำลังดำเนินการร่างหลักเกณฑ์การจ่ายเงินอุดหนุนดังกล่าว ฯลฯ ในช่วงบ่าย จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านกฎหมายการศึกษา ครั้งที่ ๒ โดยฝ่ายเลขานุการจะนำประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุม เสนอให้คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านกฎหมายการศึกษาได้พิจารณาต่อไป
สำนักนิติการ สป. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี ตำบลห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีนายโกวิท คูพะเนียด นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนิติกรเชี่ยวชาญ สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ได้เชิญดาบตำรวจสิริเวศ เจริญชนม์ ผู้บังคับหมู่กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย” นางกนกพร มีสุข ผู้อำนวยการสำนักงานคลังเขต 7 กระทรวงการคลัง เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการและการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ” นางสาวสุจินตนา ปิยธรรม นิติกรชำนาญการพิเศษ และนางสาวศศพร อารยะสันติภาพ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ก.พ. เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “วินัยข้าราชการ” และนายวิฑูรย์ วรโชติพงศ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครปฐม เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดยมีข้าราชการพลเรือน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมการอบรม จำนวน 95 คน
วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2566 นายโกวิท คูพะเนียด นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนิติกรเชี่ยวชาญ และบุคลากรสำนักนิติการ สป. ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 46 รูป ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษา ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2566 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ นายโกวิท คูพะเนียด นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนิติกรเชี่ยวชาญ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ โรงแรมราชศุภมิตร (R.S. Hotel) จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีผู้จัดการศึกษา เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนในเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมประชุม กว่า ๕๐ ท่าน การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรับรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการจัดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และรับฟังสภาพปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาดังกล่าว ทั้งยังเป็นการทบทวนและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ นายสุภกฤต ทิพย์กุล นิติกรชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ ว่าที่ร้อยตรี โอฬาร พญาสุวรรณ นิติกรชำนาญการ และผู้แทนองค์กรหลักและองค์กรในกำกับ ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้แทนสถานศึกษา 200 คน เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศและแนวทางการปฏิบัติตามประกาศ เรื่อง ป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมของกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพฯโดยมีนายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม ปลัด ศธ.กล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการและบุคลากร ได้ร่วมพิจารณาร่างประกาศ ศธ. และร่างแนวทางการปฏิบัติตามประกาศฯ แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ เพื่อให้บุคลากรในสังกัด ยึดถือปฏิบัติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านที่ 6 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” เพื่อนำไปสู่ผลสะท้อนการบรรลุเป้าหมายการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมระดับประเทศ คือ การยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายในปี 2580 อยู่ในอันดับ 1 ใน 20 หรือได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 73 คะแนน ไปสู่เป้าหมายภาพรวมของประเทศ คือ “ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ” นายยศพล เวณุโกเศศ รองปลัด ศธ.และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ศธ.กล่าวเพิ่มเติมถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หมวด 6 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ โดยได้กำหนดทิศทางไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านที่ 6 และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน (กระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมในประเด็นที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมอบหมายให้ ศธ. เสนอร่างประกาศกระทรวงฯ และร่างแนวทางการปฏิบัติตามประกาศฯ เรื่อง การป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม จากการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อความเหมาะสม เกิดผลในทางปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ (ศปท.ศธ.) จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาลงนามในประกาศ และบังคับใช้ต่อไป
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้กู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา 2566 ผู้กู้ยืมรายใหม่ยื่นขอกู้ยืมได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ผู้กู้ยืมรายใหม่/รายเก่า ยื่นแบบยืนยันการกู้ยืมได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ผ่านทางแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” หรือทางเว็บไซต์ กยศ. โดยให้กู้ยืม 4 ลักษณะ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามากขึ้น นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)เปิดเผยว่า “ขณะนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้เปิดระบบให้กู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา 2566 โดยนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมรายใหม่สามารถยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” หรือทางเว็บไซต์ กยศ. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และสำหรับผู้กู้ยืมเงินรายใหม่/รายเก่า ต้องยื่นแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม และลงนามแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืมถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมจะได้รับเงินค่าครองชีพเดือนแรกภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูล และแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้ว และสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารเพื่อกองทุนจะโอนเงินในงวดถัดไป ทั้งนี้ การให้กู้ยืมในปีการศึกษา 2566 กองทุนได้จัดเตรียมวงเงินกู้ยืมกว่า 40,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียน นักศึกษากว่า 640,000 ราย ที่ขอกู้ยืมใน 4 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลักษณะที่ 2 ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ลักษณะที่ 3 ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ ลักษณะที่ 4 เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (ระดับประกาศนียบัตรบัณทิตและปริญญาโท) กองทุนจะเป็นหลักประกันให้กับทุกครอบครัวว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาในประเทศนี้จะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพราะความยากจนจะไม่ใช่อุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาอีกต่อไป โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.studentloan.or.th
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2566 นายวชิรพันธ์ นาคก้อน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สป. พร้อมด้วยบุคลากรสังกัดสำนักนิติการ สป. เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 132 รูป ในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ 131 ปี ณ บริเวณสนามหญ้ากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และเกิดความเป็นสิริมงคล
01 April 2566
1,201
ครั้ง
วันที่ 9 มีนาคม 2566 นายโกวิท คูพะเนียด ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายการศึกษา รักษาการในตำแหน่งนิติกรเชี่ยวชาญ ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายจากท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาร่วมงานประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมี นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานและมีผู้แทนจาก 20 กระทรวงร่วมกันเปิดงานประกาศใช้แผนฯ สาระสำคัญของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 5 นั้น มีเป้าหมายการละเมิดสิทธิมนุษยชนลดลงทุกด้านและทุกกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1) ด้านการเมืองการปกครอง 2) ด้านกระบวนการยุติธรรม 3) ด้านสาธารณสุข 4 )ด้านการศึกษา และ 5) ด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการนั้น คือ ด้านที่ 4 ด้านการศึกษา มีสาระสำคัญโดยให้มีการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเรียนออนไลน์ครอบคลุมทุกภูมิภาคและทุกกลุ่ม ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในสถานศึกษาทุกระดับหน้าที่พลเมืองที่พึงปฏิบัติ ใช้สิทธิโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ป้องกันความรุนแรงต่อเด็กในสถานศึกษา